การจัดวางพื้นที่ในบ้านให้เหมาะสม มีทางสัญจรที่คล่องตัวดูไม่เกะกะ มีการเรียงลำดับก่อนหลังตามการใช้งาน เช่นห้องนอนตู้เสื้อผ้าต้องอยู่ใกล้ห้องน้ำ แบ่งโซนภายในห้องอย่างชัดเจน ห้องครัวจะต้องเริ่มจากตู้เย็น อ่างล้างจาน แล้วถึงจะเป็นเตา ทางสัญจรจึงจะไม่ทับเส้นกัน พื้นที่ก็จะเกิดประโยชน์จะไม่สูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ ที่สำคัญควรเลือกซื้อบ้านให้สอดคล้องกับจำนวนคนอยู่อาศัย
การจัดแต่งบ้านให้ดูสะอาดแบบมีศิลปะ : จัดบ้านให้สะอาดในที่นี้หมายถึงการใช้แสงที่เหมาะสมมีแสงจากธรรมชาติเข้ามาในอาคารตามจังหวะที่เหมาะสม การจัดพื้นที่ไม่ระเกะระกะจนเกินไป ควรเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ที่มีองค์ประกอบครบในชิ้นเดียว
การเลือกซื้อของ : ควรเลือกซื้อของที่สวยแต่ราคาต้องไม่แพง จริงๆ ในเมืองไทยเรามีของสวยๆ แต่ราคาไม่แพงเยอะแยะมากมายเพียงแต่เราต้องขยันหากันหน่อยอย่างเช่นจตุจักร ก็เป็นแหล่งของนักช้อปราคาประหยัด เป็นของที่คนไทยคิดเองทำเองมีดีไซน์ที่แปลกตาเยอะมากค่ะ หรือถ้าสนใจเดินแถวๆ บางโพก็จะเป็นแหล่งรวมเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์แต่งบ้านที่ดีอีกทีค่ะ อาจจะเหนื่อยหน่อยแต่ก็สนุกไปอีกแบบนะคะ
การวางแผนการตกแต่ง : ควรมีการวางแผนเพื่อไม่ให้งบประมาณบานปลาย เพราะใครที่สร้างบ้าน และตกแต่งบ้านมักจะบานปลาย วิธีแก้ปัญหาง่ายๆ ก็คือการจัดงบประมาณที่ชัดเจน และกำหนดเฟอร์นิเจอร์,ของตกแต่งตามรายการที่เรากำหนด แยกเป็นรายการให้ชัดเจน กำหนดราคาขึ้นเองตามความเป็นไปได้ให้ครบทั้งบ้าน แล้ววางแผนการซื้อไม่ให้นอกเหนือจากรายการ การแต่งบ้านแบบพอเพียงจึงจะได้ผลเป็นอย่างดี หรืออีกวิธีคือการปรึกษาผู้รู้ก็จะได้ความงามอย่างลงตัว และงบประมาณจะไม่บานปลาย จะทำให้บ้านเพื่อนๆ น่าอยู่ ไม่ทำให้ปวดหัวกับงบประมาณที่บานปลายภายหลัง ก็จะเรียกได้ว่าบ้านของเพื่อนๆ เป็นบ้านที่ ” อยู่สบาย”
ไอเดียแต่งบ้านอย่างพอเพียง ก็เป็นเคล็ดลับเล็กๆ ของการแต่งบ้านให้ประหยัดเงินในกระเป๋าค่ะ ถ้าเพื่อนๆ อ่านแล้วสนใจก็ลองนำทฤษฎีนี้ไปตกแต่งบ้านของเพื่อนๆ กันดูนะคะ