การตกแต่งบ้าน ในปัจจุบันนี้ หากย้อนอดีต เมื่อนึกถึงของสะสม ของแต่งบ้าน ก็มักจะมีแรงบันดาลใจ มาจากศิลปินที่มีชื่อเสียง ที่ทำให้เกิดงานศิลปะ ในการตกแต่งบ้านเรือน อาคาร ให้สวยงาม หนึ่งในศิลปิน แห่งแรงบันดาลใจ การตกแต่งบ้านงานศิลปะหลากหลายท่านจุดเริ่มต้นของของงานศิลป์ ของแต่งบ้าน ขนสัตว์ ต้องย้อนกลับไปในปี 1936 โอเพนไฮม์ในวัยสาวเมื่ออายุได้ 22 ปี มีโอกาสได้ร่วมรับประทำนอาหาร กลางวันกับปาโบล ปิกาโซ และสาวคนรักใหม่ของเขาซึ่งเป็นช่างภาพ ที่ภัตราคารคาเฟ่ เดอฟลอเร ซึ่งเป็นสถานที่ยอดนิยม ในเมืองปำรีส โอเพนไฮม์ ซึ่งได้ทำงานเป็นนำงแบบให้กับศิลปินทัศนศิลป์ ชื่อดัง แมน เรย์มาก่อนหน้านี้ เคยมีชื่อเสียงอยู่ บ้างจากงานถ่ายแบบแฟชันล้ำยุค ได้เดินทำงมาร่วมโต๊ะกับศิลปินคนสำคัญของโลกพร้อมกับสวมใส่เครื่องประดับที่มี ความแปลกหลุดโลกในเวลานั้น เป็นกำไลข้อมือพันด้วยขนแมวป่ำ ตามประสา ปิกาโซ เขาได้แซวเธอเล่นด้วยมุกตลก (ปน ทะลึ่งตึงตัง) ว่าเดี๋ยวนี้อะไร ๆ ก็ห่อด้วยผ้ำขนสัตว์
ซึ่งเจ้าหล่อนก็รับมุกนี้ให้ว่ารวมถึงวัตถุตรงหน้านี้ด้วย อันเป็นชุดถ้วยชา ไม่มีใครคิดว่าเธอจะถือเรื่องล้อเล่นนี้เป็นจริงจัง ถึงขนาดที่หลังจากนั้น โอเพนไฮม์ ได้ซื้อชุดถ้วยชา จำนรองแก้วและช้อน จำกร้านและห่อมันด้วยขนกวำง ซึ่งเป็นไอเดียที่จุดประกำยขึ้นจากกำรได้พบกับศิลปินระดับตำนาน
แม้ว่าในชีวิตช่วงหลังของนางโอเพนไฮม์ จะปลดระวางจากการถูกตราหน้าว่าเป็น “ศิลปินขนสัตว์” แต่ในช่วงชีวิตการ ทำงานยุคแรก ๆ นั้น เธอมีความนิยมชมชอบในกำรใช้วัตถุดิบในงานศิลป์ ที่ให้ความรู้สึกพยศ และมีความเป็นสตรีเพศ ค่อนข้างสูง อันที่จริงแล้วก่อนหน้ำที่จะได้มีโอกำสไปพบ ปิกาโซ จนบันดาลให้เกิด Object นี้ขึ้นบนโลก แรกเริ่มเดิมทีเธอมี ความสนใจในเรื่องวัตถุสิ่งทอเป็นทุนเดิมอยู่ก่อนแล้ว และได้ออกแบบเครื่องประดับร่วมกับดีไซเนอร์ชาวอิตาเลียน เอลซา สเคียร์ปาเรลลี นักออกแบบหญิงผู้ยิ่งใหญ่ เจ้าแม่แฟชั่นเซอร์เรียล ที่สร้างสรรค์เครื่องแต่งกายที่มีความจัดจ้าน กำไลข้อมือขนสัตว์ที่เธอสวมไปทานมื้อกลางวันกับปิกำโซ เป็นงานออกแบบในคอลเลกชั่นของเอลซา สเคียร์ปาเรลลี ซึ่งในช่วงระหว่ำงสร้ำง Object เธอยังออกแบบถุงมือขนสัตว์ และแหวนขนสัตว์ให้กับสเคียร์ปาเรลลีด้วย
ทุกวันนี้ Object เป็นผลงานชิ้นเอกในพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัย แห่งมหานครนิวยอร์ค ที่ใครหลายคนหลงรัก และเป็น ศูนย์กลางความสนใจในนิทรรศการ ถึงขนาดที่ โอเพนไฮม์ได้รับการขนานนามว่าเป็น “ราชินีแห่งพิพิธภัณฑ์ศิลปะ สมัยใหม่” เลยทีเดียว แม้ว่าจะถูกต่อต้านในช่วงแรก
“ปีหลัง ๆ มานี้มีผลงานเพียงไม่กี่ชิ้นที่จะครอบครองจินตนาการของสาธารณชนได้” อัลเฟร็ด บำร์ผู้อำนวยการแห่ง
พิพิธภัณฑ์เคยกล่าวไว้เมื่อตอนที่ได้ Object มาจัดแสดงครั้งแรกรอบปฐมทัศน์ในปี 1936 “แต่ชุดถ้วยน้ำชาบุขนนก สามารถทำให้เกิดเป็นรูปธรรมได้ชัดเจนที่สุด มันคือความเป็นไปไม่ได้ที่สุดแสนพิสดาร ความกดดันและความตื่นเต้นที่ เกิดขึ้นในใจผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์นับหมื่นแสนคน แสดงออกมาเป็นเสียงหัวเราะ ขยะแขยง ชิงชัง และปรีดา เมื่อเสพวัตถุนี้”
ทว่า คณะผู้บริหารพิพิธภัณฑ์นั้นกลับอยู่ในแก๊งขยะแขยง ชิงชังเสียเอง ตอนที่นายบาร์ พยายามที่จะจัดแสดงงานชิ้นนี้ในปี นั้นเอง เขากลับถูกปฏิเสธทันที ประธานกลุ่มผู้บริหารถากถางงานชิ้นนี และให้ประเมินว่า มันจะเป็นวัตถุอัปมงคลท่ามกลาง งานศิลป์ ล้ำค่าชิ้นอื่น แต่นายบาร์ ผู้มีสายตาในเชิงศิลปะเป็นเลิศก็ยังรั้น โดยออกเงินส่วนตัวซื้อ Object จำกโอเพนไฮม์ โดยเธอคิดราคาถึงหนึ่งพันฟรังก์ฝรั่งเศส และเขาต่อราคาเหลือ 50 ดอลลำร์ (เทียบกับสมัยนี้ เท่ากับ 900 เหรียญดอลลาร์) โดยลดราคาไปถึงครึ่งหนึ่งจนตกลงซื้อขายกันได้
เมื่อถึงปี 1940 Object ก็โดนถอดถอนออกไปอีกครั้งโดยทางพิพิธภัณฑ์ จนกระทั่งนายบาร์ เอากลับขึ้นมาปัดฝุ่น ในปี 1946 และเพิ่ม Object เข้าไปในหมวดผลงานศิลปะเพื่อการศึกษาแทน ซึ่งแปลว่า มันจะแทบไม่ถูกจัดแสดงใน
นิทรรศการใด ๆ กลายเป็นว่าในขณะที่ โอเพนไฮม์ หลบหน้าไปจากชื่อเสียงของผลงานตัวเอง ไปอาศัยอยู่แถบยุโรป Object กลับเป็นงำนศิลป์ ที่มีโอกาสน้อยครั้งที่ได้ปรากฏสู่สายตาประชาชนจริง ๆ เช่นเดียวกับเจ้าของเอง จนเข้าสู่ช่วงต้นยุค 60 ผลงานชิ้นนี้ จึงได้รับการจัดประเภทใหม่อีกครั้ง และจัดแสดงเป็นคอลเลกชันหลัก และเป็นตำนานมาถึงทุกวันนี้
เป็นอย่างไรกันบ้าง สำหรับประวัติของงานศิลป์ ขนสัตว์ ของประดับตกแต่ง แรงบันดาลใจจากศิลปะในสมัยก่อน ที่ส่งผลต่อการนำมาประดับ ตกแต่ง ในอาคารบ้านเรือน ในยุคปัจจุบันนี้ และเป็นที่นิยมในกลุ่มสังคมชั้นสูงด้วยนะ ด้วยการออกแบบ ที่ฟูฟ่อง ทันสมัย และดูคลาดสิค เปลี่ยนจากขนสัตว์ในสมัยก่อน ให้กลายเป็น ขนสังเคราะห์ แต่ยังคงคอนเซปเดิม คือ ความฟูฟ่อง อลังการ และดูมีมนต์ขลัง นั่นเอง