เคล็ดลับ การบำรุงบ้าน ให้น่าอยู่

เคล็ดลับ การบำรุงบ้าน ให้น่าอยู่

ผู้อยู่อาศัยหลายท่าน มักจ้างผู้เชี่ยวชาญในการช่วยดูแลปรับแต่งบ้าน หรือ ซ่อมแซมส่วนที่ชำรุด แม้ว่าแท้จริงแล้วเจ้าของบ้านสามารถลงมือทำได้ด้วยตัวเอง โดยใช้ต้นทุนที่ต่ำกว่ามาก เพียงเพราะคนส่วนใหญ่ ยังไม่รู้เทคนิคต่างๆ ของมืออาชีพ

เคล็ดลับการบำรุงบ้าน

ดังนั้น จึงมักจะเสียเวลาและงบประมาณ ในขณะที่พยายามซ่อมแซมบ้าน ด้วยตัวเอง ซึ่งอาจเป็นได้ผลลัพธ์ที่ไม่น่าพอใจ ซึ่งแนวทางเรียนรู้ฝึกฝนทักษะ ที่เหมาะสม เพื่อเป็นผู้ช่างประจำบ้านในการซ่อมแซม และบำรุงรักษาส่วนต่าง ๆ รวมถึงเคล็ดลับและแนวทางในการดูแลรักษาบ้าน ด้วยงบประมาณจำกัด มีด้วยกัน ต่อไปนี้

ดินทรุด ปัญหาบ้านทรุด มักเกิดขึ้นในบ้านที่มีการสร้างมานานหลายปี และมีการรับน้ำหนักจากสิ่งก่อสร้างที่บกพร่อง เมื่อดินรอบบ้านทรุดตัว จึงทำให้พื้นภายนอกบ้านทรุดตัวลงตามไปด้วย จนเกิดรอยปริแตกแยก ของอาคารออกจากโครงสร้างของบ้าน ถ้าปล่อยทิ้งไว้ อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อเสาเข็มรับน้ำหนัก และกระทบต่อที่อยู่อาศัยในอนาคต

ซึ่งแม้ว่าเรื่องโครงสร้าง และการก่อสร้างบ้าน จะเป็นเรื่องที่ดูห่างไกลจากเจ้าของบ้าน แต่ก็ควรมีการเฝ้าระวังในส่วนนี้ โดยสังเกตได้จากโพรงรอบบ้าน รอยแตกร้าวบนผนังคอนกรีตเป็นแนวยาว หรือผนังแยกจากโครงสร้างคาน โครงสร้างบ้านเอียง เป็นต้น สำหรับวิธีการซ่อมแซม ปัญหาบ้านทรุดต่างๆ เจ้าของบ้านอาจฉาบปูน หรือ อุดซิลิโคน บริเวณที่เกิดรอยแตกร้าว ซึ่งเป็นการแก้ไขชั่วคราว ในเบื้องต้น อาจมีการถมดินทรายเข้าไป ในชั้นดินจนเต็ม เพื่อเสริมความแข็งแรง และเพิ่มฐานบ้านในการรับน้ำหนัก ภายใต้โครงสร้าง หรือ ติดต่อบริษัทวิศวกรก่อสร้าง ให้เข้ามาวิเคราะห์สาเหตุ และประเมินความเสียหายตามหลักวิศวกรรม โดยวิธีการซ่อมบ้านทรุด นั้นมีหลายแบบ ขึ้นอยู่กับลักษณะ และความรุนแรงของปัญหาที่พบ

การระบายน้ำ ปัญหาและการซ่อมแซมทั้งหลาย สามารถป้องกันได้ โดยการตรวจสอบให้แน่ใจ ว่าการระบายน้ำในบ้าน ยังทำงานได้ดี เพราะในแต่ละวัน เราจำเป็นต้องใช้น้ำในการอุปโภคบริโภค ภายในครัวเรือนมากที่สุด

สำหรับบ้านหลังเก่า ที่ปลูกสร้างมานานอาจเกิดท่อตัน ซึ่งความชื้นและสิ่งสกปรกไม่ไหลออกตามท่อ ในกรณีที่เลวร้ายที่สุด น้ำเสียที่ไม่อาจระบายออกสู่สาธารณะได้ อาจไหลย้อนกลับเข้ามาในที่พักอาศัย ทำให้เกิดความเสียหาย กับผนังจนบวม หรือพังได้ ทางแก้ไข คือ คอยทำความสะอาดท่อด้วยสารเคมี ที่ไม่มีฤทธิ์กัดกร่อน ใช้ไม้ยางปั๊ม เพื่อให้เกิดแรงดัน สำหรับท่อในโถส้วม

 

สำหรับการดูแลรักษาบ่อดักไขมันนี้จะต้องตักเศษไขมันออกเป็นประจำเพื่อให้น้ำระบายได้คล่องและไม่มีกลิ่นรบกวน รวมถึงหมั่นทำความสะอาดรางน้ำฝน ด้วยการเก็บเศษใบไม้และเศษขยะต่าง ๆ ไม่ให้มาอุดภายในราง ทำให้น้ำสามารถไหลได้สะดวกเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังบริเวณระเบียงและห้องใต้หลังคา

การระบายอากาศ สำหรับประเทศไทย แล้วอากาศร้อน ดูจะเป็นเรื่องที่หลบหนีไม่ได้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อน ซึ่งเราสามารถระบายอุณหภูมิความร้อนจากตัวบ้าน ด้วยการติดตั้งช่องทางระบายอากาศ สิ่งสำคัญที่สุด คือ การตัดสินใจอย่างถูกต้อง ว่าจะวางตำแหน่ง ช่องระบายอากาศไว้ที่ใด เพื่อให้แน่ใจว่าตัวบ้านมีการระบายอากาศอย่างเหมาะสม

วิธีนี้จะช่วยให้บ้านเย็นลงอย่างเป็นธรรมชาติ และช่วยให้ประหยัดค่าไฟฟ้า และค่าซ่อมบำรุงเครื่องปรับอากาศ และพัดลม โดยติดตั้งหน้าต่าง ในบริเวณที่เป็นมุมอับ หรือ เลือกด้านที่เป็นทิศเหนือ และทิศใต้ ซึ่งอยู่ด้านตรงข้ามกัน ทำให้อากาศหมุนเวียนภายในบ้านได้ทั่วถึง อย่าตั้งสิ่งก่อสร้าง หรือเฟอร์นิเจอร์ ที่ขวางช่องลม การปลูกพืชหรือต้นไม้ ก็เป็นอีกทางหนึ่ง ในการบดบังแสงแดด และให้บรรยากาศที่ร่มรื่นนอกบ้าน

ระบบไฟฟ้า ถึงแม้งานตรวจสอบระบบไฟฟ้าในบ้าน จะเป็นงานของช่างก็ตาม แต่เจ้าของบ้านก็ควรจะมีความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบ ระบบไฟฟ้าไว้เป็นพื้นฐาน เพื่อสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ที่เกิดขึ้นโดยไม่ทันตั้งตัวได้ โดยตรวจสอบมิเตอร์ไฟฟ้า ก่อนว่ายังทำงานเป็นปกติหรือไม่ ปิดการใช้งาน และถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมด

สังเกตตรวจสอบสายไฟ ปลั๊กไฟ หากพบว่าชำรุด ควรเปลี่ยนใหม่ ให้มีสภาพพร้อมใช้งาน รวมถึงความสมบูรณ์ของแผงไฟ และเต้ารับ ควรอยู่ที่สูงพ้นมือเด็ก ตรวจสอบสภาพการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้า ภายในบ้าน เพื่อความปลอดภัยของสมาชิกครอบครัว ไม่ให้เกิดอันตรายจาก ไฟฟ้าลัดวงจร ไฟช็อต กระแสไฟรั่ว หรือ อาจทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้