การวางแผน ปรับปรุงบ้าน ซ่อมบ้าน ทำบ้าน

การวางแผน ปรับปรุงบ้าน ซ่อมบ้าน ทำบ้าน อยากจะรีโนเวทบ้าน แต่ไม่รู้เริ่มต้นทำอะไรก่อนดี เพราะดูเหมือนทุกเรื่องจะสำคัญเท่ากันหมด วันนี้เรามีวิธีวางแผนรีโนเวทบ้านสำหรับมือใหม่ที่ต้องการจะรีโนเวทบ้านมาฝากกันค่ะ

วิธีวางแผนรีโนเวทบ้าน เรื่องสำคัญที่คนอยากรีโนเวทบ้านควรรู้ก่อนจะลงมือทำ ก่อนที่จะพบกับปัญหาในภายหลังว่าพลาดอะไรไปหลายอย่าง ซึ่งนั่นแปลว่าอาจทำให้เสียค่าใช้จ่ายมากขึ้นด้วย ในวันนี้กระปุกดอทคอมเลยขอนำวิธีวางแผนรีโนเวทบ้าน 4 กุญแจสำคัญและการวางตารางเวลาสำหรับคนที่กำลังจะลงมือรีโนเวทบ้านมาฝากกันค่ะ เพื่อให้การรีโนเวทบ้านของคุณเสร็จไวและได้ตรงตามที่ต้องการมากขึ้น

วางแผนรีโนเวทบ้าน ทำยังไง ?

รีโนเวทบ้าน จำเป็นต้องมีการวางแผนและเตรียมตารางการรีโนเวทบ้าน เพื่อช่วยลดความสับสนเนื้องานในสถานการณ์จริงและเพื่อให้ทุกอย่างดำเนินตามเวลาที่กำหนดได้ ตารางการรีโนเวทที่ดีควรเน้นความสำคัญว่า ต้องการปรับปรุงสิ่งไหน ใช้เวลานานเท่าไร งบประมาณเท่าใด TerraBKK ขอแนะนำ วิธีวางแผนการรีโนเวทบ้านแบบง่าย ๆ เป็นไอเดียในการจัดสรรงานปรับปรุงบ้าน ตั้งแต่การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ ตารางการรีโนเวทบ้านที่จะช่วยเตือนว่าคุณควรซื้อสิ่งใดในเวลาไหน เพื่อให้คุ้มค่ากับเวลาที่ใช้ไปมากที่สุดตามรายละเอียด 4 กุญแจสำคัญในการออกแบบตารางรีโนเวทบ้านดังนี้

1 : รายการงานที่ต้องการปรับปรุง
2 : การกำหนดผู้รับผิดชอบในงานส่วนนั้น
3 : การกำหนดระยะเวลาในงานส่วนนั้น
4 : การยืดหยุ่นหรือปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ที่เหมาะสม

เวลาออกแบบตารางรีโนเวทบ้าน ควรให้ความสำคัญในการจัดลำดับรายการก่อน-หลังปรับปรุง เลือกรายการหลักเป็นอันดับแรก เช่น บางอย่างต้องทำสิ่งนี้ก่อน เมื่อเสร็จแล้วค่อยปรับปรุงส่วนรายการอื่นที่ต่อยอดต่อไป เป็นต้น เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ ขอยกตัวอย่างเช่น การบิวท์อินครัว เริ่มต้นที่งานระบบ สร้างเคาน์เตอร์ครัว เพิ่มการติดตั้งส่วนของซิงค์ล้างจาน เตาแก๊ส จากนั้นค่อยนำเครื่องครัวต่าง ๆ เข้ามาวางไว้ใช้งาน สามารถวางตารางรีโนเวทบ้านง่าย ๆ ได้ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 : ได้ข้อสรุปธีมและลักษณะห้องครัวที่ต้องการ
ขั้นตอนที่ 2 : ระบุวัสดุอุปกรณ์และจัดซื้อเพื่อใช้งาน
ขั้นตอนที่ 3 : จัดการทุบ รื้อ ย้าย เพื่อเคลียร์พื้นที่ครัว
ขั้นตอนที่ 4 : ทำส่วนงานระบบน้ำ เดินท่อประปา กำหนดตำแหน่งเครื่องครัวเกี่ยวกับน้ำ ซิงค์ล้านจาน เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 5 : ทำส่วนงานระบบไฟ เดินสายไฟใหม่ กำหนดตำแหน่งอุปกรณ์ไฟฟ้า
ขั้นตอนที่ 6 : ทำการซ่อมแซมสิ่งขาดเกินงานระบบ เช่น ช่องโหว่จากการขุดเจาะผนัง เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 7 : ส่วนงานบิวท์อินครัว เคาท์เตอร์ครัว ตู้เก็บของ ฯลฯ
ขั้นตอนที่ 8 : ทำความสะอาดพื้นที่ เพื่อติดตั้งรายการเครื่องครัว เตาแก๊ส ซิงค์ล้างจาน เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 9 : ตรวจสอบการติดตั้งและการใช้งานเครื่องครัว
ขั้นตอนที่ 10 : ทำความสะอาดพื้นที่ เพื่อจัดเก็บอุปกรณ์ทำครัวต่าง ๆ พร้อมใช้งาน

จากเนื้องานทั้งหมดข้างต้นจะเห็นว่า บุคคลที่ได้รับมอบหมายงานเกี่ยวข้องกับช่างผู้เชี่ยวชาญหลากหลายด้าน ได้แก่ ช่างประปา ช่างไฟฟ้า ช่างงานไม้ ช่างงานปูน ช่างก่ออิฐ เป็นต้น บุคคลเหล่านี้คือผู้ที่เราจะต้องมอบเป้าหมายงานด้านนั้น ๆ สำหรับระยะเวลางานแต่ละส่วน หากคุณไม่รู้ว่าระยะเวลาที่เหมาะสมนานเท่าไร ควรสอบถามผู้มีประสบการณ์หรือผู้รับเหมาที่เชื่อใจได้